กรมอุทยานฯดีเดย์จัดงานเที่ยวอุทยานฯรับลมหนาว 77 จว.ทั่วไทย-เปิด “ถ้ำหลวง”โชว์ปฏิบัติการกู้ภัยบรรลือโลก

เชียงราย – กรมอุทยานฯเด้งรับโครงการ Thailand Winter Festival..เตรียมจัดงาน “ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติรับลมหนาว” 15 ธันวาฯนี้ พร้อมเปิด “ถ้ำหลวง” ให้คนเที่ยวชมถึงโถง 2 โชว์ปฏิบัติการกู้ภัยบรรลือโลกช่วย 13 หมูป่าอะคาเดมี

เมื่่อวานนี้ (25 พ.ย.66) นายอรรถพล เจริญชรรษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เดินทางไปยังถ้ำหลวง อุทยานแห่งชาติถ้ำหลวง-ขุนน้ำนางนอน (เตรียมการ) ต.โป่งผา อ.แม่สาย จ.เชียงราย เพื่อเตรียมความพร้อมในการจัดงาน “ท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติรับลมหนาว” ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 15 ธ.ค.2566 นี้เป็นต้นไป สอดคล้องกับงาน Thailand Winter Festival นโยบายของรัฐบาล

ซึ่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะจัดการงานนำเสนอแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญๆ ทั้ง 77 จังหวัดทั่วไทย โดยจะร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดนิทรรศการที่ถ้ำหลวงและเปิดตัวกิจกรรมรวมทั้งรณรงค์ไปพร้อมๆ กัน

นายอรรถพล กล่าวว่าได้มีการปรึกษาหารือกับหลายฝ่ายว่าจะมีการเปิดขยายให้นักท่องเที่ยวเข้าไปชมถ้ำหลวงได้ถึงโถงที่ 2 และที่สำคัญคืออยากให้นักท่องเที่ยวได้ทราบถึงประวัติศาสตร์การช่วยเหลือทีมเยาวชนหมูป่า 13 คน เพราะที่ผ่านมาคนที่มาเที่ยวจะซึมซับเรื่องราวได้เพียงแค่ครึ่งเดียว ดังนั้นเจ้าหน้าที่จึงพยายามผลักดันให้มีมัคคุเทศน์ที่เล่าเรื่องราวให้ได้มากขึ้น

สำหรับการเปิดให้เข้าชมถ้ำหลวงนั้นจะมีการจำกัดคนเข้าไปเบื้องต้นครั้งละ 10 คน มัคคุเทศน์และคนนำทางอีก 2 คน ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในปฏิบัติการ คน อุปกรณ์ ความเสี่ยงภัย เวลาในการนำทีมหมู่ป่าออกจากถ้ำได้อย่างรวดเร็ว ฯลฯ โดยจะมีการจัดระบบมีการลงทะเบียนให้ถูกต้องเป็นธรรม คัดเลือกบุคคลที่มีความพร้อมของร่างกาย

ด้านนายจอร์ช มอริส ผู้ก่อตั้งทีม CMRCA ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหนือเยาวชนทีมหมูป่าทั้ง 13 คนในถ้ำหลวง กล่าวว่าไม่เคยมีเหตุการณ์แบบถ้ำหลวงเกิดขึ้นในโลกมาก่อน ซึ่งตอนนั้นมีคนนับหมื่นคนระดมกำลังกันมาช่วยเหลือน้องๆ ทีมหมูป่า มีการดำน้ำช่วงแรกระยะทาง 800 เมตร

แต่หลังจากนั้นบุคคลภายนอกแทบไม่มีใครรู้เรื่องราวว่ายังมีระยะทางที่ต้องดำน้ำอีก 800 เมตร จากโถงถ้ำที่ 2-3 ยังต้องติดตั้งเชือกที่ต้องใช้เทคนิคจากหลายฝ่ายมาช่วย เช่น หน่วยบัญชาการสงครามพิเศษทางเรือ (หน่วยซีล) ทหารอเมริกา หน่วยกู้ภัยที่เป็นจิตอาสาของไทย ฯลฯ เพื่อให้เป็นสะพานเชือกลำเลียงเยาวชนทั้ง 13 คนออกมาด้วยเปล ซึ่งต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจมากเพราะไม่ใช่เป็นเรื่องของการดำน้ำแต่เพียงอย่างเดียว

“นักท่องเที่ยวสามารถไปดูเป็นจุดๆ ว่ามีการจัด Base กองอำนวยการในถ้ำตรงไหน เมื่อเข้าไปก็จะเจอน้ำลึก มีการวัดปริมาณน้ำเพื่อดูว่าปั๊มน้ำจะทำงานได้อย่างไร จนถึงโถงที่ 2 ก็จะเห็นสลิง ถ้าเลยโถง 2 ถึงโถง 3 ก็จะเป็น Base กองอำนวยการที่มีหลายหน่วยงานอยู่ที่นั่น ได้ดูว่าการดำน้ำเริ่มต้นจากตรงไหนและจะได้เห็นว่าการดำน้ำนับจากตรงนั้นมีความยากลำบากขนาดไหน” นายจอร์ช มอริส กล่าว.

 

 

โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า