สวพส. พลิกชีวิตชาวสวนยางอำเภอเชียงดาว สู่เกษตรกรอินทรีย์ยกคุณภาพชีวิต

สวพส. พลิกชีวิตชาวสวนยางอำเภอเชียงดาว จากรายได้ไม่แน่นอนสู่เกษตรกรอินทรีย์เดือนละหมื่นบาท ยังไม่รวมขายสัตว์เลี้ยง จากรายได้ไม่แน่นอนกลับมามีรายได้แน่นอนทุกวันทุกเดือน ไข่ไก่วันละ 300 บาท ปลูกผักขายตามตลาดต้องการมีรายได้รวมไม่น้อยวก่า 2 หมื่นบาทต่อเดือน ยกคุณภาพชีวิต ครอบครัวให้ดีขึ้น

สวพส. หรือ สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน) โดยโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยเป้า บ้านห้วยเป้า หมู่ที่ 1 ตำบลทุ่งข้าวพวง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ ได้เข้าให้การแนะนำนายสุคำ ขัตหลง หรือลุงคำ กลยเป็นเกษตรกรอินทรีย์ ต้นแบบ หลังจากปี 2549 ได้เปลี่ยนพื้นที่จากการสวนยางเนื้อที่ 7ไร่ เป็นสวนเกษตรอินทรีย์ ปลูกผักสวนครัวแบบโรงเรือน จากเริ่มต้นแบบไม้ไผ่ 3 โรง มีรายได้จากการปลูกผักแบบอินทรีย์ 100% จำหน่ายมีรายเดือน 4- 6 พันบาทต่อเดือน มีการปลูกผักสวนครัวตามที่ตลาดต้องการ แม้กระทั่งช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ก็ไม่กระทบเพราะมีตลาดผักอินทรีย์รองรับ กระแสความนิยมบริโภคมากขึ้น ตอนนี้ได้ขยายโรงเรือนเพิ่มอีก 3 โรง มีรายได้เพิ่มเดือนละหมื่นบาท มีผักสวนครัวอินทรีย์ปลูกตามที่ตลาดต้องการ นอกจากนี้ยังเลี้ยงสัตว์ หมูเกือบ 10 ตัว เลี้ยงหมุนเวียนขายได้ 3-4 หมื่นบาท ต่อครั้ง และไก่ไข่อีก 100 ตัว ขายไข่ได้วันละ 300 บาท ซึ่งอาหารสัตว์เลี้ยงไม่ต้องซื้อนำผักสวนครัวที่ปลูก ไม่ได้ตามที่ตลาดต้องการมาใช้เลี้ยง

ก่อนมาทำสวนยางเป็นเกษตรกรปลูกถั่วเหลือง ปีละครั้งโดยใช้น้ำฝนเป็นหลัก มีรายได้ปีละ 3 -4 พันบาท กอนจะหันมาทำสวนยาง รายได้ไม่มีเพราะต้องรอให้ได้ขนาดที่จะกรีดยาง หลังจากโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงห้วยเป้า สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์กรมหาชน) เข้ามาให้คำแนะนำเปลี่ยนพื้นที่ล้มต้นยางทิ้ง พร้อจัดทำแหล่งน้ำที่เป็นปัจจัยสำคัญ ที่ผ่านมาพึ่งเฉพาะน้ำฝนเท่านั้น ก่อนเปลี่ยนมาเป็นเกษตรอินทรีย์ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน มีรายได้รวมกว่า 2 หมื่นทั้งการขายผักอินทรีย์ และไก่ไข่ ยังไม่รวมเลี้ยงหมูขายที่จะมีรายได้ตามรอบช่วงอายุ ทำให้ตอนนี้คุณภาพชีวิตดีขึ้นครอบครัวมีความสุข มีรายได้เลี้ยงรอบครัวทุกวันทุกเดือน

ส่วนรายจ่าย ก็จะจ้างคนงานในสัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง 2 คนคนละ 200 บาท มาช่วยปลูก มีการนำมูลสัตว์เข้ามาเพื่อทำปุยอินทรีย์ โดยทั้งหมดจะไม่มีการใช้สารเคมี เป็นผักอินทรีย์ 100 % เพราะตอนนี้มีความต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก ทำให้หลานชายได้เข้ามาเสริม ทำโรงเรือนของตนเองอีก 8 โรง เพื่อปลูกผักเสริมให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้บริโภคทั้งในจังหวัดเชียงใหม่ และกรุงเทพฯ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า