เช็กด่วน ยากันยุงยี่ห้อนี้ ของปลอม ใช้แล้วมึน หมดสติ กล้ามเนื้อกระตุก

เช็กด่วน ใช้ยากันยุงยี่ห้อนี้อยู่หรือไม่? โดย พ.ต.อ.อนุวัฒน์ รักษ์เจริญ รอง ผบก.ปคบ. พร้อม ภก.วีระชัย นลวชัย รองเลขาธิการคณะกรรมการอาหารเเละยา และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันแถลงข่าว การบุกทลายโรงงานผลิตยาจุดกันยุงเถื่อน และจุดกระจายสินค้า 3 จังหวัด ที่มีสารเคมีอันตราย กว่า 227,000 กล่อง มูลค่ากว่า 4,540,000 บาท

สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาตรวจสอบสินค้า ยาจุดกันยุงจีน ยี่ห้อ Goldeer และ Laojun (รูปเด็กอ่อน) ไม่มีฉลากภาษาไทย ไม่มีเลขผลิตภัณฑ์ วางจำหน่ายในสื่อโซเชียลและตามร้านค้าขายปลีก พบมีสารเคมีวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 (วัตถุอันตรายที่ใช้ในครัวเรือน ชนิดที่ต้องขออนุญาตนำเข้า ผลิต และจำหน่าย) สารเคมี กลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethriods)

ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ.2556 ที่ 4.2 รายชื่อสารควบคุม เมเพอร์ฟลูทริน (Meperfluthrin) และไดมีฟลูทริน (Dimefluthrin) ซึ่ง อย.ไม่เคยอนุญาตให้นำเข้า ผลิต หรือจำหน่ายในรูปแบบยาจุดกันยุง ที่ใช้ในบ้านเรือนเพื่อประโยชน์แก่การระงับ ป้องกัน ควบคุม ไล่ กำจัดแมลงและสัตว์ เพราะเป็นพิษต่อคนและสัตว์

หากสูดดมควันในปริมาณมากในพื้นที่ที่อากาศไม่ถ่ายเทเป็นเวลานานอาจทำให้รู้สึกมึนงง ปวดศีรษะ อาเจียน กล้ามเนื้อกระตุก อ่อนเพลีย ชัก หรือหมดสติได้ รวมถึงอาการแพ้ ผื่นแดง คัน หากเข้าตาอาจเกิดอาการระคายเคือง

กล่องผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงจีน ยี่ห้อ Laojun มีรูปหน้ากล่องเป็นรูปเด็กอ่อน อาจทำให้ประชาชนหลงผิดคิดว่าไม่มีสารเคมีอันตราย อีกทั้งยังราคาถูกกว่าท้องตลาด จึงเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไป โดยไม่ได้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสารเคมีวัตถุอันตรายที่เป็นส่วนผสม

เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ.จึงร่วมกับ อย.ลงพื้นที่สืบสวนหาแหล่งกระจายสินค้าในพื้นที่ จ.ชัยนาท, อ่างทอง และ สุพรรณบุรี พบและยึด อายัด ผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงจีน ยี่ห้อ Goldeer และ Laojun (รูปเด็กอ่อน) รวมกว่า 14,774 กล่อง ไม่มีฉลากภาษาไทยและไม่มีเลขผลิตภัณฑ์

เช็กด่วน ยากันยุงยี่ห้อนี้ ของปลอม ใช้แล้วมึน หมดสติ กล้ามเนื้อกระตุก

เช็กด่วน ยากันยุงยี่ห้อนี้ ของปลอม ใช้แล้วมึน หมดสติ กล้ามเนื้อกระตุก© สนับสนุนโดย EJAN

ทั้งนี้ เบื้องต้นสอบปากคำเจ้าของร้านค้าส่งทั้ง 3 ร้าน รับว่า ซื้อมาจากผู้ขายชาวจีนและคนไทย ไม่ทราบชื่อสกุลจริง ไม่ระบุบริษัทนำเข้า หรือผู้ผลิต ซึ่งเชื่อว่าผลิตในประเทศไทย ในราคากล่องประมาณละ 12 บาท ราคาขายหน้าร้านกล่องละ 18-20 บาท จึงได้ตรวจยึดไว้เพื่อดำเนินการตรวจสอบตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535

จากการสืบสวนขยายผลหาแหล่งผลิตพบว่า เมื่อเดือน เม.ย.66 มีโรงงานผลิตยาจุดกันยุงในพื้นที่ จ.สมุทรสาคร เคยผลิตยาจุดกันยุงยี่ห้อหนึ่งที่ได้รับเลขผลิตภัณฑ์ถูกต้อง แต่ผลการตรวจสอบกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์พบสารเคมีที่เป็นวัตถุอันตรายประเภทเมเพอร์ฟลูทริน (Meperfluthrin) และไดมีฟลูทริน (Dimefluthrin) ผสมอยู่ และอาจเข้าข่ายผลิตยาจุดกันยุงยี่ห้อจีนที่ตรวจยึดได้จากการลงพื้นที่ 3 จังหวัดข้างต้น

เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.4 บก.ปคบ.จึงร่วมกับ อย. กองควบคุมวัตถุอันตราย บูรณาการเข้าค้นตรวจสอบและยึดอายัดของกลาง พบว่าขณะเข้าตรวจสอบโรงงานดังกล่าวกำลังผลิตยาจุดกันยุง ยี่ห้อ Goldeer กล่องสีฟ้า ไม่มีฉลากภาษาไทยและไม่มีเลขผลิตภัณฑ์ โดยการอบสารเคมีและบรรจุผลิตภัณฑ์ลงกล่องพร้อมจำหน่าย และมียาจุดกันยุงบรรจุลังกระดาษตราเสือ กล่องสีแดง ไม่มีฉลากภาษาไทยและไม่มีเลขผลิตภัณฑ์ บรรทุกใส่รถกระบะเตรียมนำไปส่งลูกค้าอยู่ในขณะเข้าทำการตรวจค้น

สอบปากคำ นางณัธวรรณ ให้การว่าได้ทำการสั่งซื้อยาจุดกันยุงชนิดขดสีดำจากประเทศจีน นำเข้ามาเพื่ออบสารเคมีที่ใช้ไล่ยุงจริง โดยสารเคมีที่ใช้อบยาจุดกันยุงไม่ได้ขออนุญาตนำเข้าเอง และไม่ได้ขออนุญาตผลิตเพื่อจำหน่ายแต่อย่างใด

เช็กด่วน ยากันยุงยี่ห้อนี้ ของปลอม ใช้แล้วมึน หมดสติ กล้ามเนื้อกระตุก

เช็กด่วน ยากันยุงยี่ห้อนี้ ของปลอม ใช้แล้วมึน หมดสติ กล้ามเนื้อกระตุก© สนับสนุนโดย EJAN

จากนั้นได้นำมาบรรจุในกล่องผลิตภัณฑ์พร้อมจำหน่ายหลายยี่ห้อ (ใช้ขดยาจุดกันยุงสีดำชนิดเดียวกันที่ผลิตออกมาบรรจุ) ได้แก่

1.ยาจุดกันยุงตรา Goldeer กล่องสีฟ้า จำนวน 4,826 กล่อง

2.ยาจุดกันยุงตรา Laojun (รูปเด็กอ่อน) จำนวน 9,555 กล่อง

3.ยาจุดกันยุงตรา เสือ กล่องสีแดง จำนวน 13,440 กล่อง

4.ยาจุดกันยุงตรา สิงโต กล่องสีฟ้า จำนวน 3,811 กล่อง

5.ยาจุดกันยุงตรา ริชเนส กล่องสีน้ำเงิน จำนวน 50 กล่อง

6.ยาจุดกันยุงตรา ริชเนส กล่องสีเขียว จำนวน 120 กล่อง

7.ขดยาจุดกันยุงเปล่ายังไม่บรรจุกล่องยี่ห้อผลิตภัณฑ์ จำนวน 180,720 กล่อง

รวมของกลางที่ตรวจยึดและอายัด 7 รายการ จำนวน 212,522 กล่อง โดยของกลางที่ตรวจยึดและอายัดรายการที่ 1-4 เป็นผลิตภัณฑ์ยาจุดกันยุงที่ไม่มีเลข อย.และไม่มีฉลากภาษาไทยกำกับ ในส่วนของของกลางรายการที่ 1 พบว่า ด้านหลังกล่องผลิตภัณฑ์มีล็อตการผลิตระบุวันผลิตและหมดอายุ “20230701/20260701” และตัวหนังสือภาษาไทย “ผลิตภัณฑ์นี้เป็นของแท้” ระบุตรงกับของกลางที่ตรวจยึดได้ที่ จ.ชัยนาท ก่อนหน้านี้จริง จึงเชื่อได้ว่าโรงงานแห่งนี้เป็นแหล่งผลิตและจำหน่ายให้กับร้านค้าต่างๆ

ส่วนของกลางที่ตรวจยึดมาได้ อย.ได้นำส่งตัวอย่างกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อตรวจหาสารเคมีอันตรายที่เป็นส่วนผสมแล้ว หากพบว่ามีสารเคมีซึ่งมีวัตถุอันตรายตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม

เรื่องบัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ.2556 ตามบัญชีแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม พ.ศ.2556 ที่ 4.2 รายชื่อสารควบคุมเมเพอร์ฟลูทริน (Meperfluthrin) และไดมีฟลูทริน (Dimefluthrin) จริง การกระทำดังกล่าวจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ฐานผลิตและขายวัตถุอันตรายตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535

1.โรงงานผู้ผลิต และครอบครองวัตถุอันตรายโดยไม่ได้รับอนุญาตฝ่าฝืนมาตรา 23 วรรคหนึ่ง ระวางโทษตามมาตรา 73 จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับและผลิตวัตถุอันตรายที่ต้องขึ้นทะเบียน แต่มิได้ขึ้นทะเบียนฝ่าฝืนมาตรา 45 (4) ระวางโทษตามมาตรา มาตรา 78 จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาทหรือทั้งจําทั้งปรับ

2.ร้านค้าผู้ขายจะมีความผิดฐานครอบครองวัตถุอันตรายที่ต้องขึ้นทะเบียนแต่มิได้ขึ้นทะเบียนฝ่าฝืนมาตรา 45 (4) ระวางโทษตามมาตรา มาตรา 78 จําคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า