‘ปิ่นแก้ว’ อายแทน มช. ผู้บริหารฟ้องอาจารย์ปมทวงหอศิลป์ น.ศ.ลั่น ค่าเทอมแพงมาก ต้องใช้สถานที่ให้คุ้ม

น.ศ.วิจิตรศิลป์ ลั่น จ่ายค่าเทอมตั้งแพง ได้คดี – ‘ปิ่นแก้ว’ พ้อ ‘น่าอายมาก’ ครั้งแรกในปวศ. ผู้บริหารฟ้องคนใน มช. แนะถอนฟ้อง

สืบเนื่องกรณี อาจารย์และนักศึกษาสาขาวิชา Media Art and Design ร่วมกันตัดโซ่และเข้าไปใช้พื้นที่ของหอศิลปวัฒนธรรมของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อจัดแสดงงานศิลปะประจำปีตามรายวิชาเรียน เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2564 ล่าสุด ผศ.ดร.ทัศนัย เศรษฐเสรี อาจารย์ภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) เปิดเผยทางเฟซบุ๊ก Thasnai Sethaseree ว่าวันนี้ (23 ม.ค.) จะเดินทางไปยังศาลจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเข้าพบพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่ตามนัดหมายสั่งฟ้อง คดีของ 3 อาจารย์และนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นั้น

เมื่อวันที่ 23 มกราคม ที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ ผศ.ดร.ทัศนัย พร้อมด้วยผู้ถูกกล่าวหา ได้แก่ อาจารย์ศรยุทธ เอี่ยมเอื้อยุทธ อาจารย์ประจำภาควิชาสื่อศิลปะและการออกแบบสื่อ คณะวิจิตรศิลป์ ม.เชียงใหม่, นายยศสุนทร รัตตประดิษฐ์ นักศึกษาสาขา MEDIA ARTS AND DESIGN และ ศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ ม.เชียงใหม่ เดินทางเข้าพบพนักงานอัยการจังหวัดเชียงใหม่

ศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี ให้สัมภาษณ์ก่อนการเข้ายื่นหนังสือว่า กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องที่ไม่เคยเกิดมาก่อน ในช่วงที่ตนเป็นอาจารย์อยู่ในมหาวิทยาลัย

“พูดง่ายๆ ก็คือการที่ผู้บริหารฟ้องอาจารย์ซึ่งทำงานในมหาวิทยาลัย ในข้อหาเข้าไปใช้หอศิลป์ ซึ่งเป็นทรัพยากรของมหาวิทยาลัย เพื่อที่จะทำให้นักศึกษาจบการศึกษาได้ เรื่องแบบนี้น่าอายมาก ไม่เคยเกิดขึ้นในมหาวิทยาลัยแห่งนี้มาก่อนในประวัติศาสตร์ ม.เชียงใหม่

ภาพประกอบข่าว

ภาพประกอบข่าว© Matichon

“ในฐานะอาจารย์ร่วมมหาวิทยาลัย อยากเรียกร้องให้ผู้บริหารถอนฟ้องเรื่องนี้เสีย มีอะไรไปคุยกันในมหาวิทยาลัย เราไม่ควรที่จะใช้อำนาจทางกฎหมายมาทำเรื่องแบบนี้” ศ.ดร.ปิ่นแก้วกล่าว

ด้าน นายยศสุนทร รัตตประดิษฐ์ นักศึกษาที่ถูกนำผลงานใส่ถุงดำ และผู้ถูกกล่าวหาด้วย ม.112 กล่าวว่า วันนั้นตนทำงานกับเพื่อนๆ เป็นธีสิส ซึ่งตึกมีเดียฯ อยู่ในรั้วเดียวกันกับหอศิลป์ เป็นสาขาเดียวที่ตึกตั้งแยกออกมาข้างนอก ตนเล่าเพราะอยากให้คนเข้าใจสถานที่ ตึกที่เรียน

“เราทำงานกันที่นั่นเป็นปกติและใช้เวลาศึกษา ทดลองทำงานไปเรื่อยๆ และวันที่เราจะต้องเข้าไปติดตั้งงาน ต้องใช้เวลาและเข้าไปในที่ทำงานเรา แต่ก็ถูกล็อกไว้ ตึกตรงนั้นไม่ได้เป็นแค่ทรัพย์สมบัติของใครก็ตาม แต่เป็น Facility ที่นักศึกษาต้องใช้อยู่แล้ว ผมจ่ายค่าเทอมมาตั้งแพงมากๆ มันก็ต้องใช้ให้เต็มที่ ผมคิดอย่างนั้น” นายยศสุนทรกล่าว

นายยศสุนทรกล่าวต่อว่า วันนั้นถ้าตนไม่ตัดโซ่เข้าไปก็คงจะมีเพื่อนคนอื่นๆ ที่จะทำแบบนั้นเหมือนกัน ตนมองว่าสิ่งที่จะมาจำกัดการศึกษาก็ไม่ควรมีอยู่แล้วในรั้วอุดมศึกษา

“เพราะความรู้ใหม่ๆ สิ่งใหม่ๆ ที่เราไปค้นหา กลั่นกรองออกมาเป็นงาน มันต้องการรั้วที่มันกว้างที่สุด ไม่ใช่มาล็อกรั้ว ทำให้มันแคบ และปิดไม่ให้พูด หรือทำอะไรไม่ได้ การแสดงงานไม่ได้ ก็เปรียบเสมือนการปิดปากศิลปินและคนทำงานศิลปะ ไม่ให้สื่อสารต่อสาธารณชน

แบบนี้พวกผมก็คิดว่ามันไม่ถูกต้อง จึงตัดสินใจกลับไปทำงานของพวกเราต่อ แค่ตัดโซ่ ตึกเราก็อยู่ในนั้นอยู่แล้ว ร้อยวันพันปี ก่อนหน้านี้เรียนมา 4 ปี ก็ไม่เคยมีเหตุการณ์ล็อกรั้วแบบนี้มาก่อน เมื่อเกิดเหตุขึ้นก็คิดว่าเราไปบุกรุก ทั้งๆ ที่มันก็เป็นที่ทำงานของเราเอง” นายยศสุนทรกล่าว

ภาพประกอบข่าว

ที่มา มติชน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า