คณะ “ดาวล้านนา” ชนะเลิศประกวดซอพื้นเมือง สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีฯ

“สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรี ศรีล้านนาไทยเชียงใหม่” แข่งขันขับ “ซอพื้นบ้านล้านนา” รอบชิงชนะเลิศเพื่อส่งเสริมเยาวชน สืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีเยาวชนเข้ารอบสุดท้าย จำนวน 5 คณะ  สำหรับทีมที่ชนะเลิศ ตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง ได้แก่คณะ ดาวล้านนา ได้รับเงินรางวัลจำนวน 15,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล

เมื่อวันที่ 19 พ.ย.66 สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรี ศรีล้านนาไทยเชียงใหม่แข่งขันขับซอพื้นบ้านล้านนา รอบชิงชนะเลิศ เพื่อส่งเสริมเยาวชน สืบสานและอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ทีมชนะเลิศ คณะดาวล้านนา ได้รับเงินรางวัล 15,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล พร้อมชมการขับซอล่องน่าน ด้วยลีลาน้ำเสียงที่ไพเราะและการฟ้อนที่อ่อนช้อยของศิลปินพื้นบ้านที่หน้าพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา เชียงใหม่ มีนายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานเปิด  พร้อมเจ้าเจือจันทร์ ณ เชียงใหม่ ประธานจัดแข่งขัยซอพื้นบ้านล้านนา ได้ร่วมกันเปิดการแข่งขันซอพื้นบ้านล้านนาไทย รอบชิงชนะเลิศ หนึ่งในกิจกรรมในงานครบรอบ 76 ปี สมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีล้านนาไทย เชียงใหม่

โดยในรอบชิงชนะเลิศ มีเยาวชนเข้ารอบสุดท้าย จำนวน 5 คณะ ที่ทางสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีล้านนาไทย จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เยาวชนในภาคเหนือ ร่วมสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่ให้สูญหาย ท่ามกลางนักท่องเที่ยวที่เข้ารับชม โดยมีคณะกรรมการตัดสิน เป็นผู้เชี่ยวชาญและพ่อครูแม่ครู ที่ทรงคุณวุฒิ ให้คะแนนความสามารถ ทั้งเนื้อหา น้ำเสียงลีลา ความกลมกลืนถูกต้องของทำนอง การแต่งกาย มารยาทความงดงาม ทางวัฒนธรรม ความพร้อมเพียง และตรงต่อเวลา

เจ้าเจือจันทร์ ณ เชียงใหม่ ประธานจัดการแข่งขันซอพื้นบ้านล้านนาไทย กล่าวว่า “ซอพื้นเมือง” ส่วนตัวชื่นชอบมาตั้งแต่เด็กๆ และต้องการอนุรักษ์รักษาไว้เพราะในอดีต” ผู้เฒ่าผู้แก่พูดจาจีบกัน ก็จะซอ” เป็นกาพย์กลอน พอมาถึงปัจจุบันก็เป็นห่วงว่าจะถูกลืมเลือน ก็เลยต้องการให้เยาวชนได้สืบสานต่อยอด “ซอพื้นบ้าน” จึงได้ร่วมกับสมาคมส่งเสริมวัฒนธรรมสตรีศรีล้านนาไทย เชียงใหม่ จัดประกวดซอขึ้นมา และได้รับการสนับสนุนจาก “มาดามหยก” นางสาวกชพร เวโรจน์ ที่ปรึกษากิตติศักดิ์ในการจัดประกวดฯพร้อมด้วยภาครัฐและเอกชนอื่นๆจำนวนมาก โดยได้คัดเลือกจาก 14 คณะ เหลือ 7 คณะ ถือว่าประสบความสำเร็จเกินร้อย และหวังว่าจะให้ซอพื้นบ้าน เป็น “ซอฟต์พาวเวอร์ของเชียงใหม่” อีกด้วย

สำหรับทีมที่ชนะเลิศ ตามหลักวิชาการที่ถูกต้อง ได้แก่คณะ ดาวล้านนา ได้รับเงินรางวัลจำนวน 15,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล โดยมีนายวรวิทย์ ชัยสวัสดิ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นประธานในการมอบรางวัล ส่วนชนะเลิศรองอันดับ 1 คณะ สองสะหรี ได้รับเงินรางวัล 12,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 คณะ สุวิทย์ – ลำจวน ได้รับเงินรางวัล 10,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล และรางวัลชมเชยอีก 2 รางวัล คณะเสียงซอป่าซาง และคณะเก็ดถวา ได้รับเงินรางวัลคณะละ 8,000 บาท พร้อมถ้วยรางวัล และปิดท้าย การแสดง การขับซอ ล่องน่าน โดยสองศิลปินช่างซอ ที่มีการขับขาน ด้วยถ่วงทำนองที่ไพเราะ และการแสดงฟ้อนด้วยลีลาที่อ่อนช้อย งดงาม ของวัฒนธรรมการขับซอ จะเป็นการเล่าเรื่อง เป็นบทกลอนหรือร้อยเรียงทำนอง ที่ใช้ถ้อยคำให้สอดคล้อง ถ่ายทอดออกมา เป็นถ่วงทำนอง ได้อย่างไพเราะ โดยที่ไม่มีบทหรือเนื้อร้อง เหมือนกับการขับร้องเพลง ที่มีเนื้อร้อง แต่การขับซอมีแต่เพียง กำหนดหัวข้อว่า จะขับซอเล่าเรื่อง เกี่ยวกับ เรื่องอะไร ศิลปินก็จะเล่า ออกมาเป็นถ่วงทำนอง.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า