ชลประทานเชียงใหม่งดส่งน้ำเขื่อนแม่งัด สนับสนุนแม่น้ำปิง หวังประหยัดน้ำไว้หน้าแล้ง

ชลประทานจะงดส่งน้ำจากเขื่อนแม่งัด ในการสนับสนุนแม่น้ำปิงในรอบที่ 5 ส่งผลให้สามารถประหยัดน้ำสะสม 6.21 ล้าน ลบ.ม. ตุนไว้ใช้หากเกิดสถานการณ์แล้งในอนาคต

วันที่ 2 ก.พ. 2567 นายเฉลิมเกียรติ อินทกนก ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก-แม่งัดสมบูรณ์ชล (ผคบ.แม่แฝก-แม่งัด) เปิดเผยว่า สัปดาห์นี้เป็นรอบเวรการส่งน้ำจากเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลสนับสนุนพื้นที่ 2 ฝั่งแม่น้ำปิง ทั้ง จ.เชียงใหม่ และ จ.ลำพูน เป็นรอบที่ 5 ตามแผนกำหนดส่งในปริมาณ 3.11 ล้าน ลบ.ม. แต่เนื่องจากช่วงสองสามวันก่อนหน้านี้เกิดฝนตกในพื้นที่โซนใต้ของเชียงใหม่และตกในพื้นที่ จ.ลำพูน ประกอบกับน้ำบริเวณหน้าประตูระบายน้ำและฝายต่างๆ ในแม่น้ำปิง ตั้งแต่ ปตร.ท่าวังตาล อ.เมืองเชียงใหม่ ไปจนถึง ปตร.แม่สอย อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ มีอยู่ในปริมาณที่มาก ทุก ปตร. ทุกฝาย มีน้ำในระดับที่ล้นไปท้ายน้ำทุกแห่ง ซึ่งเพียงพอกับการใช้น้ำในช่วงนี้ตลอดทั้ง 2 ฝั่งแม่น้ำปิง เพราะในพื้นที่การเกษตรช่วงนี้ความต้องการใช้น้ำยังมีน้อย

สำหรับการส่งน้ำจากเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชลเพื่อสนับสนุนแม่น้ำปิงถึงวันนี้ตามแผนกำหนดส่งทั้งสิ้น 5 รอบ ในรอบที่ 1 กำหนดส่งวันที่ 4 มกราคม 2567 โดยแผนส่งน้ำในปริมาณ 1.73 ล้าน ลบ.ม. รอบนี้ไม่มีการส่ง เนื่องจากปริมาณน้ำในแม่น้ำปิงมีเพียงพอกับการใช้ในทุกกิจกรรมตลอด 2 ฝั่งแม่น้ำ ทำให้ประหยัดน้ำได้ 1.73 ล้าน ลบ.ม. รอบที่ 2 แผนส่ง 1.73 ล้าน ลบ.ม. ส่งจริงก็ 1.73 ล้าน ลบ.ม. รอบที่ 3 แผนส่ง 2.07 ล้าน ลบ.ม. ส่งจริง 1.56 ล้าน ลบ.ม. สามารถประหยัดน้ำได้ 0.51 ล้าน ลบ.ม. รอบที่ 4 แผนส่ง 3.11 ล้าน ลบ.ม. ส่งจริง 2.25 ล้าน ลบ.ม. ประหยัดน้ำได้ 0.86 ล้าน ลบ.ม. และรอบเวรที่ 5 กำหนดส่งในวันที่ 1 ก.พ. 67 มีแผนส่ง 3.11 ล้าน ลบ.ม. แต่ไม่ได้ส่งสนับสนุนแม่น้ำปิงตามที่กล่าวมาข้างต้น สามารถประหยัดน้ำได้ 3.11 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้รวมปริมาณน้ำตามแผนส่งทั้ง 5 รอบ เท่ากับ 11.75 ล้าน ลบ.ม. แต่มีผลการส่งน้ำจริงเพียง 5.54 ล้าน ลบ.ม. ทำให้ประหยัดน้ำจากเขื่อนแม่งัดฯ ที่สนับสนุนแม่น้ำปิง สะสมรวมเท่ากับ 6.21 ล้าน ลบ.ม.

ทั้งนี้มีการรายงานสถานการณ์น้ำบริเวณประตูระบายน้ำและฝายสำคัญในลำน้ำปิงซึ่งอยู่ในการควบคุมของ โครงการชลประทานเชียงใหม่ และโครงการชลประทานลำพูน ประจำวันที่ 2 ก.พ. 2567 โดยฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1 โครงการชลประทานเชียงใหม่ รายงานปริมาณน้ำ ปตร.ท่าวังตาล เวลา 7:00 น. ระดับธรณีประตู +295.50 ระดับเก็บกัก +301.50 ระดับน้ำด้านเหนือ ปตร. +301.81 ม.รทก. ความสูงของผิวน้ำ 6.81 ม. ระดับน้ำด้านท้าย ปตร. +297.18 ม.รทก. ความสูงของผิวน้ำ 4.18 ม. ปริมาณน้ำเข้าคลองส่งน้ำ 1LMC-ฝายพญาคำ 0.55 ลบ.ม./วิ 2LMC-ฝายหนองผึ้ง 0.03 ลบ.ม./วิ 3LMC-ฝายท่าวังตาล 0.25 ลบ.ม./วิ เปิดประตูระบายน้ำ 1 ช่องบาน ปริมาณน้ำไหลผ่านอาคาร ประตูระบายน้ำ 9.01 ลบ.ม./วิ บันไดปลา 1.00 ลบ.ม./วิ รวมปริมาณน้ำไหลลงท้ายน้ำ 10.01 ลบ.ม./วิ ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษา ที่1 โครงการชลประทานลำพูน รายงานสถานการณ์น้ำฝายชลขันธ์พินิต (ฝายแม่ปิงเก่า) เวลา 07.00 น. ระดับสันฝาย 2.46 ม. ระดับน้ำหน้าฝาย 2.62 ม. น้ำล้นสันฝาย 0.16 ม. ความสูงของผิวน้ำ 2.62 ม. ไม่ได้เปิดประตูระบายทราย มีปริมาณน้ำไหลผ่านอาคาร น้ำล้นฝาย 14.66 ลบ.ม/วิ

นอกจากนี้ โครงการชลประทานลำพูน รายงานสถานการณ์น้ำฝายวังปาน เวลา 7:00 น. ว่า ระดับน้ำที่ธรณีประตู +266.50 ระดับสันฝาย +272.50 ระดับน้ำหน้าฝาย +272.80 น้ำล้นฝาย 0.3 ม. ความสูงของผิวน้ำ 6.30 ม. ระดับน้ำท้ายฝาย +267.00 ความสูงของผิวน้ำ 0.50 ม. ระดับความสูงของผิวน้ำคลอง LMC 1.20 ม. ไม่ได้มีการเปิดประตูระบายน้ำ ปริมาณน้ำไหลผ่านอาคาร น้ำล้นฝาย 16.70 ลบ.ม./วิ และน้ำไหลผ่านบันไดปลา 1.95 ลบ.ม./วิ มีปริมาณน้ำไหลผ่านไปด้านท้ายรวม 18.65 ลบ.ม./วินาที และที่ประตูระบายน้ำท้ายสุดในลำน้ำปิงคือ ประตูระบายน้ำแม่สอย อ.จอมทอง ฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 7 โครงการชลประทานเชียงใหม่ รายงานสถานการณ์น้ำประตูระบายน้ำแม่สอย ณ เวลา 7:00 น. ว่า ปริมาณน้ำที่ระดับธรณีประตู +258.00 ระดับเก็บกัก +266.00 ระดับน้ำด้านเหนือ ปตร. +265.04 ม.รทก. ความสูงของผิวน้ำ 7.04 ม. ระดับน้ำด้านท้าย ปตร. +258.7 ม.รทก. ความสูงของผิวน้ำ 0.7 ม. เปิดประตูระบายน้ำ 1 ช่องบาน ที่ระดับ 0.1 ม. ปริมาณน้ำไหลผ่านอาคาร ประตูระบายน้ำ 8.57 ลบ.ม./วิ และปริมาณน้ำเก็บกักเหนือ ปตร. มีอยู่ที่ 7.386 ล้าน ลบ.ม.

จะเห็นได้ว่าทั้งประตูระบายน้ำและฝายสำคัญน้ำลำน้ำปิงทุกแห่งมีน้ำล้นไปด้านท้ายน้ำซึ่งเท่ากับว่า น้ำที่อยู่บริเวณด้านหน้า ปตร. / ฝาย มีเพียงพอที่จะส่งให้พื้นรับน้ำของ ปตร. / ฝาย แต่ละแห่งได้ใช้อย่าพอเพียง อย่างไรก็ตามหากปริมาณน้ำปิงเกิดภาวะวิกฤต เขื่อนแม่งัดฯ สามารถระบายน้ำสนับสนุนน้ำปิงได้อย่างทันท่วงที

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า